จุดเริ่มต้นไอเดียของงานนี้มาจากการที่เรากับรัสเซียอยากทำงานที่ให้ความสำคัญกับสถานที่ โดยอาศัยสิ่งที่เราทั้งคู่สนใจนั่นคือ “เงา” มาเป็นตัวถ่ายทอดเรื่องราว เราเลือกที่จะพูดถึงการละลายความ เป็นตัวตนและการกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ผ่านการสร้างภาพ ย้อนแสงที่มีชีวิต จังหวะของไฟที่ต่างกันในแต่ละจุดเกิดเป็นเงา ตกกระทบบนอาคารที่เคลื่อนไหวได้ ด้วยจุดประสงค์ที่อยากให้เรา ได้มองและสัมผัสได้ถึงการมีอยู่ของพื้นที

ในความตั้งใจที่ไม่ชักจูงให้เกิดความรู้สึกร่วมใดๆในทิศทางเดียวกัน ในทางกลับกันเราอยากที่จะเห็นผลลัพธ์ในแบบปลายเปิด เราจึง เลือกที่จะใส่องค์ประกอบปรุงแต่งให้น้อยที่สุด เพื่อปล่อยให้พื้นที่ ว่างในจินตนาการของแต่ละบุคคลได้ทำงาน ซึ่งความรู้สึกอัน แตกต่างที่มีต่อสถานที่แห่งนี้คือสิ่งที่เราสนใจ



สุดท้ายแล้วงานชิ้นนี้อาจไม่ได้นำเสนอสิ่งที่เป็นรูปธรรมในเชิงวัตถุ มันไม่ได้มีความสำคัญไปมากกว่าสถานที่ และสิ่งมีชีวิตที่เข้ามา ในพื้นที่ของมัน แต่อย่างน้อยเราก็หวังว่ามันจะได้ทำหน้าที่ในการ กระตุ้นความรู้สึกอันหลากหลายที่จะส่งผลต่อยอดให้เกิดไอเดียในการพัฒนาเชิงพื้นที่ในอนาคต ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งในส่วนตัว ผมมองงานชิ้นนี้เป็นเหมือนการคารวะต่อสถานที่ที่เคยมีชีวิตแห่งนี้

The beginning of the project started with an idea of Prapatsorn and me to design something with a site-specific approach. We use shadow, which we shared our interest in, as a tool to narrate through time and space —a living silhouette portrayed as a representation of the act of losing identity and becoming a part of the place, a moving shadow on the building resulting from the different rhythms of light, conveying the existence of space.



With the purpose of not persuading a mutual feeling, on the other hand, we sought open-ended results. So we decided to minimize decorative elements as much as possible, believing that it would activate personal imagination, which is what we are interested in.



So this project may not deliver a concrete result in terms of an object. The piece itself is not as important compared to the place and its users, but at least we hope it will serve to stimulate various feelings that will somehow influence ideas for future spatial development of the place. Personally, I see this work as paying homage to this place that once lived.

Sarath Saitongin in collaboration with Scenography
Department Bangkok
Bangkok Design Week 2024Livable Scape

Site : Metropolitan Waterworks Authority MaenSi
Designers: Sarath Saitongin, Prapatsorn Sukkaset,
Pongpat Srisamran
Sound Design: Kittipon Akarachat
Construction Supervisor: Kittipon Akarachat,
Prechaya Thananilkul
Crew: Thanapon Detchote
Spatial Visualizer: Cholnara Lapamart
Partial Lighting Equipment Support:
BLACKBOXLighting

#BKKDW2024
#BangkokDesignWeek
#LiveableScape
#มิตรบำรุงเมืองLive
#scenographydepartmentbangkok
#urbanally
#ประปาแม้นศรี
#พระนคร